Pages

Friday, July 24, 2020

แสนสิริชวนลูกบ้านเปลี่ยนที่ว่างรอบบ้านและในคอนโดฯ เป็นสวนผักทานได้ - Sanook

kuahbasolah.blogspot.com

SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN (แสนสิริ แบคยาร์ด: อีท-เอเบิ้ล การ์เด้น) สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน เป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากความสำเร็จตลอด 1 ปี ของ SANSIRI BACKYARD บนพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่รอพัฒนาตามหลัก 3Gs หรือ GREEN-GROW-GIVE ที่ทำให้แสนสิริมองเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (GREEN SPACE) ภายใต้พันธกิจด้านความยั่งยืน (SANSIRI SUSTAINABILITY 2020) ในมิติใหม่ที่ไม่ใช่แค่การให้ความร่มรื่นในที่อยู่อาศัย แต่ต้องใช้พื้นที่ในบ้านให้เป็นประโยชน์ด้วยการเป็นแหล่งอาหารของครอบครัว สนับสนุนให้ลูกบ้านใช้พื้นที่ว่างบางส่วน เช่นสวนหลังบ้านหรือริมระเบียงคอนโดฯ มาทำสวนผักทานได้ และสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารด้วยตัวเอง (FOOD PRODUCER) จริยา จันทร์เจิดศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เผยถึงที่มาของ SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN

ตลอดครึ่งปีหลังนี้ แสนสิริชวนลูกบ้านสนุกไปกับการปลูกสวนทานได้ในบ้าน เตรียมส่งโชว์เคส EAT-ABLE GARDEN ในโชว์ยูนิตของโครงการบ้านและคอนโดฯ ที่คาวะ เฮาส์ (kawa HAUS), อณาสิริ ชัยพฤกษ์–วงแหวนและอณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี ตลอดจนวางไลน์อัพกิจกรรมที่จะทำให้การปลูกสวนผักทานได้เป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าใครก็ทำได้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ GREEN INSPIRE-GROW COMMUNITY-GIVE EXPERIENCE กับชุดปลูกผักทานได้ (EDIBLE PLANT KIT) พร้อมแบ่งปันทิปส์เกี่ยวกับ EDIBLE PLANT ทั้งผัก สมุนไพรไทยและต่างประเทศ รวมถึงดอกไม้ พร้อมจัดป๊อปอัพสวนทานได้ รวมถึงมอบสิทธิพิเศษอีกมากมายจากไร่กำนันจุล, ท็อปส์ มาร์เก็ต (Tops Supermarket) และวิลล่า มาร์เก็ต (VILLA MARKET) และส่งบริการจัดสวนผักทานได้ถึงบ้านโดย ZTHEGARDEN หนึ่งในผู้ชนะจาก THE FOUNDER โปรเจคปั้นพนักงานสู่สตาร์ทอัพ สำหรับ SANSIRI FAMILY และลูกค้าแสนสิริโดยเฉพาะ

พรพิมล ผู้พัฒน์ SANSIRI SPYZ ตัวแทนพนักงานคลื่นลูกใหม่กับบทบาทการถ่ายถอดเรื่องราวของแสนสิริสู่คน Gen Z & Y ด้านความยั่งยืน อธิบายแนวคิดของ EAT-ABLE GARDEN เพิ่มเติมว่า “เป็น ‘สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน’ ที่เกิดจากแนวคิดที่แสนสิริต้องการสนับสนุนให้ลูกบ้านปลูกผักในบ้าน แม้จะเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ในกระถางริมหน้าต่าง หรืออย่างระเบียงคอนโดฯ และบนดาดฟ้าก็สามารถปลูกได้  เพราะการปลูกผักเพื่อบริโภคเองสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ และยังเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำให้บ้านร่มรื่น สดชื่น เราอาจเลือกพริก มะเขือเทศ หรือผักที่มีสีสดใสต่าง ๆ เพิ่มสีสันให้สวนของบ้าน เป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับใช้เวลาร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารของครอบครัว ซึ่งแสนสิริเองก็ประสบความสำเร็จในการปลูกสวนผักปลอดสารบนพื้นที่ว่างทั้งในสวนส่วนกลางและพื้นที่รอพัฒนา พร้อมสร้างชุมชนที่มีความสุขให้แก่ลูกบ้าน (MAKE A GREAT NEIGHBORHOOD) มาตลอด 1 ปีของ SANSIRI BACKYARD”

ในครึ่งปีหลังของ 2020 แสนสิริเดินหน้าแต่งแต้มสีเขียว สร้างสรรค์สวนผักทานได้และแหล่งอาหารของคอมมูนิตี้บนพื้นที่รอพัฒนาและพื้นที่ส่วนกลาง เริ่มต้นจากขยายพื้นที่ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM ที่ T77 COMMUNITY รวมเป็น 17 ไร่ ปลูกแปลงนาข้าวไรซ์เบอร์รี่กลางกรุง และเลี้ยงเป็ดอารมณ์ดีที่คอยกำจัดวัชพืช ศัตรูข้าวในแปลง โดยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใส่ใจของไร่กำนันจุล หนึ่งใน CO-GROWING PARTNER พันธมิตรธุรกิจรักษ์โลกของแสนสิริ รวมไปถึงการเพิ่มลู่วิ่งออกกำลังกายความยาว 1.5 ก.ม. รอบโครงการ T77 COMMUNITY ที่เชิญชวนเข้าไปชมความอุดมสมบูรณ์ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM และงานศิลปะ WALL ART ที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างตั้งใจของพนักงานแสนสิริ เพื่อให้ SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN สามารถตอบโจทย์การดูแลสุขภาพของลูกบ้านได้อย่างรอบด้าน เป็นศูนย์เรียนรู้การทำฟาร์มเกษตรในเมือง และเป็นแหล่งอาหารของลูกบ้านและชุมชน พร้อมวางแผนขยาย SANSIRI BACKYARD บนพื้นที่ส่วนกลางรวม 160 โครงการคอนโดฯ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและทาวน์เฮาส์ภายในปีนี้

พรพิมล เล่าเสริมว่า “ในช่วงที่รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ที่ทุกคนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบ้านและคอนโด SANSIRI BACKYARD ได้ทำหน้าที่เป็น Food Supply หรือแหล่งอาหารแก่ชุมชนทั้งที่หัวหินและชุมชนลูกบ้านใน T77 COMMUNITY และอีก 30 โครงการ มากกว่า 15,000 ครอบครัวรวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง ที่เชื่อมั่นในความสะอาดปลอดภัยจากการปลูกผักแบบปลอดสารของ SANSIRI BACKYARD และยังจุดประกายแสนสิริให้ออกแนวคิด EAT-ABLE GARDEN สนับสนุนให้ลูกบ้านปลูกสวนผักทานได้ในบ้านเพื่อเป็นแหล่งอาหารของครอบครัว”

นอกจากนี้คุณพรพิมลยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกผักภายในคอนโดมิเนียม และบ้านที่อาจมีพื้นที่จำกัด "สำหรับคอนโดมิเนียมนั้นแนะนำให้ปลูกสวนผักแนวตั้ง เลือกผักบางชนิดที่ขึ้นง่าย อายุตัดเก็บสั้นประมาณ 7-14 วันเช่นผักโขมแดง ผักโขมเขียว ผักตระกูลต้นอ่อนเช่นต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งผักประเภทต้นอ่อนบางชนิดสามารถปลูกได้บนกระดาษทิชชู เลือกผักที่ไม่ต้องการแสงแดดมาก ส่วนบ้านที่มีพื้นที่จำกัด การปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก บางคนอาจคิดว่าต้องปลูกผักลงดินเท่านั้น แต่สามารถปรับมาเป็นการปลูกผักในกระถาง หรือถุงพลาสติก"

แพทตี้ อังศุมาลิน ดาราสาวสายเฮลตี้ แชร์มุมมองเกี่ยวกับการมีสวนผักทานได้ในบ้านว่า “ปกติแพทตี้เป็นคนใส่ใจเรื่องสุขภาพและอาหารการกินเป็นพิเศษอยู่แล้ว ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารมากขึ้นไปอีก และมองว่าทุกครอบครัวควรมีพื้นที่ปลูกผัก ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ เพราะการได้ทานผักผลไม้ที่ปลูกเองย่อมไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมี หรือเชื้อโรคที่อาจปะปนมา โดย SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN เป็นแนวคิดที่ดี และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถสร้างแหล่งอาหารของครอบครัวและตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพในปัจจุบัน

ขณะที่ มี๊แพร-นาฏนุช วงศ์ศรีรุ่งเรือง คุณแม่ของน้องลิดา เจ้าของเพจสารพันปัญหาการเลี้ยงลูก แชร์มุมมองในการเลี้ยงลูกของเธอว่า เด็กควรเติบโตท่ามกลางธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นห้องเรียนที่ไม่มีขอบเขต ซึ่งสำหรับเด็กที่เติบโตในเมืองที่อาจจะมีพื้นที่อยู่อาศัยที่จำกัดอาจมีโอกาสใกล้ชิดธรรมชาติน้อย การปลูกผักในบ้านนับเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะใช้พื้นที่น้อย สามารถสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้ตั้งแต่การพรวนดิน หว่านเมล็ดไปจนถึงการดูแลรักษาให้ต้นไม้เติบโต และเก็บผลผลิต อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักความอดทน และเอาใจใส่ เขาจะภูมิใจที่ได้ลงมือทำ และทานผักผลไม้ที่ปลูกมาด้วยตัวเอง เป็นการปลูกฝั่งให้เค้ารู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย

“SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN จึงเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่เน้นย้ำความตั้งใจของเราในการสร้างชุมชนที่มีความสุข ส่งเสริมการใช้เวลาร่วมกัน ด้วยการลงมือปลูกสวนผักทานได้ในบ้านให้เป็นแหล่งอาหารของครอบครัว ตอกย้ำแนวทางการมีสุขภาพที่ดีและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน“ จริยา กล่าวปิดท้าย

Let's block ads! (Why?)



"ผัก" - Google News
July 25, 2020 at 08:16AM
https://ift.tt/2CDmCnz

แสนสิริชวนลูกบ้านเปลี่ยนที่ว่างรอบบ้านและในคอนโดฯ เป็นสวนผักทานได้ - Sanook
"ผัก" - Google News
https://ift.tt/2wOiSwx

No comments:

Post a Comment