นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ศึกษาโซ่อุปทานผักสลัดอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปลูก ผักสลัดอินทรีย์ ที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน Organic Thailand มากที่สุดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตผักสลัดอินทรีย์ให้กับเกษตรกร โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานต้นน้ำ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนการผลิต เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการผลิต และเกษตรกร เกี่ยวกับการวางแผนการผลิต การจัดหาปัจจัยการผลิต และการผลิต กลางน้ำ ซึ่งเป็นการจัดการผลผลิต ผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานกลางน้ำ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารตกค้าง โรงคัด บรรจุ ตกแต่ง และผู้รวบรวม และปลายน้ำ เป็นการกระจายผลผลิต ผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานปลายน้ำ ได้แก่ ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า บริษัท และผู้บริโภค
โดยหากพิจารณาถึงต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต วิถีการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด พบว่า เกษตรกรที่ปลูกผักสลัดอินทรีย์ อาทิ ผักกาดหอม ผักกาดแก้ว สลัดคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ใน 1 รอบการผลิต ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วันเท่านั้น ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 9,501 บาท/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 842 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 52.41 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทน 44,112 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 34,611 บาท/ไร่
สำหรับส่วนเหลื่อมการตลาด หรือความแตกต่างระหว่างราคาที่ผู้บริโภคจ่ายหรือราคาขายปลีก กับราคาที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรได้รับ กรณีศูนย์/สถานีโครงการหลวง สหกรณ์ฯ วิสาหกิจชุมชนฯ ขายให้กับผู้รวบรวม มีส่วนเหลื่อม 25 บาท/กิโลกรัม และผู้รวบรวมขายให้กับร้านค้าห้างสรรพสินค้า บริษัทในจังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีส่วนเหลื่อม 20 บาท/กิโลกรัม ส่วนร้านค้าห้างสรรพสินค้า บริษัทในจังหวัด และกรุงเทพฯ ขายให้กับผู้บริโภค มีส่วนเหลื่อม 53 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากผักสลัดเน่าเสียและเสียหายง่าย ทำให้ส่วนเหลื่อมค่อนข้างสูง
"ผัก" - Google News
July 23, 2020 at 02:31PM
https://ift.tt/30CZz4b
“ผักสลัดอินทรีย์”ช่วยสร้างรายได้เกษตรกร - สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น
"ผัก" - Google News
https://ift.tt/2wOiSwx
No comments:
Post a Comment